จบงานสัปดาห์แฟชั่นของกรุง Paris ไปแล้ว ส่วนตัวยังคงยกให้เป็นงานสัปดาห์แฟชั่นที่ทรงอิทธิพล ยิ่งใหญ่ และน่าประทับใจที่สุดประจำฤดูกาล โดยหากเอารสนิยมส่วนตัวเป็นที่ตั้ง งานสัปดาห์แฟชั่นฤดูกาล Fall/Winter 2018 ของ Top 4 เมืองแฟชั่นของโลกนั้นชอบ Paris มากที่สุด แล้วจึงตามมาด้วย London, Milan และท้ายสุดคือ New York
เช่นเดียวกับที่เขียนถึงคอลเล็กชั่นที่ชอบจากสัปดาห์แฟชั่นของ New York และ London นี่คือ 10 คอลเล็กชั่นที่ชอบโดยวัดจากรสนิยมส่วนตัว และประสบการณ์ร่วมที่ทำให้ความรู้สึกแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ซึ่งจริงๆแล้วผลงานของนักออกแบบเกือบทุกคนที่แสดงใน Paris Fashion Week นั้นมีจุดเด่นและด้อยต่างกันไป บางแบรนด์ที่ตั้งความหวังเอาไว้ว่าผลงานต้องดีเลิศ ก็กลับไม่เป็นอย่างที่คิด แต่บางแบรนด์ที่ไม่ได้ติดตามมานาน กลับนำเสนอผลงานออกมาน่าประทับใจมาก เช่น 10 คอลเล็กชั่นที่เลือกมาในคราวนี้คือ 10 คอลเล็กชั่นที่ชอบมากที่สุดใน Paris Fashion Week ฤดูกาล Fall/Winter 2018 ที่เพิ่งจบกันไปหมาดๆ
Saint Laurent
อย่างที่ได้เขียนถึงคอลเล็กชั่นนี้ไว้ในก่อนหน้าว่า ผลงานของ Anthony Vaccarello สำหรับห้องเสื้อ Saint Laurent นั้นพีคขึ้นเรื่อยๆ แล้วเมื่อแบรนด์ใหญ่ระดับโลกในงานสัปดาห์แฟชั่นของ New York, London และ Milan บอกเอาไว้ว่ากระแสของแฟชั่นจากช่วงทศวรรษที่ 80s นั้นกลับมาแน่ นั่นจึงยิ่งเข้าทาง Vaccarello สุดๆ แต่เพื่อไม่ให้เลี่ยนด้วยสารพัดโครงชุดโอเวอร์ไซส์ใหญ่ยักษ์ Vaccarello จึงขอโชว์ให้เห็นว่าเคิร์ฟและไลน์สวยๆนั้นก็ทำได้ด้วยเช่นกัน โดยคอลเล็กชั่นนี้มีทั้งที่ย้อนกลับไปไกลถึงผลงานเก่าๆของเมอซิเออร์ Saint Laurent ในช่วงปลาย 60s - 70s และที่ย้อนไปใกล้ๆในปี 2000 โดยหยิบเอาโอต์กูตูร์คอลเล็กชั่นมาปรับให้ร่วมสมัย
Balenciaga
Fall/Winter 2018
ไม่ใช่แค่ Burberry เท่านั้นที่พูดถึงเรื่องของความหลากหลายทางเพศ แต่ Balenciaga ก็หยิบยกมาเป็นประเด็นโดยสร้างเป็นลายเด่น 'ธงสีรุ้ง' พร้อมทั้งการร่วมมือกับ World Food Programme กลายเป็นโลโก้ใหม่บนชิ้นงานในฤดูกาลล่าสุด หลังวางแนวคิด Anti-Fashion เอาไว้ที่ Balenciaga มา 2 ปี คอลเล็กชั่นนี้ได้ทำให้เห็นว่า Demna Gvasalia เริ่มสุขุมขึ้น สนุกแบบที่ยังไม่หลุดจากกรอบห้องเสื้อระดับกูตูร์เฮาส์ ชิ้นมาสเตอร์พีซของ Balenciaga ในยุค Gvasalia อย่างแจ็กเก็ตรูปทรงนาฬิกาทรายมาพร้อมการผลิตด้วยวิธีการใหม่ โดยการใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติและการขึ้นโมล ทั้งหมดคือการโชว์เทคโนโลยีสำหรับโลกแฟชั่นในทศวรรษหน้าอย่างแท้จริง
Junya Watanabe
Fall/Winter 2018
ไหนๆกระแสแฟชั่นจากยุค 90s ยังคงอยู่ ส่วนเทรนด์ 80s ก็กำลังมา Junya Watanabe จึงนำความเชื่อมโยงจากสองยุคทองของโลกแฟชั่นมานำเสนออีกครั้ง ทั้งกลิ่นอายของ Punk จนถึงชุดเต้นแอโรบิกสมัยคุณแม่ยังสาว ด้วยการสวมรองเท้าที่ collab กับ Reebok และ Buffalo Shoes คู่กับเลกกิ้งเนื้อผ้ามันเงา MA-1 แจ็กเก็ต และ Parka โอเวอร์ไซส์ เชิ้ตตัวใหญ่โคร่ง เดรสและกระโปรงลายดอก ทั้งหมดอาจตอกย้ำกระแส 'The Gvasalia Effect' ที่เกิดขึ้นตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมาโดยมีทั้ง Vetements และ Balenciaga ปูทางไว้ แต่อยากบอกว่าทั้งหมดทั้งมวลชวนซื้อในคอลเล็กชั่นนี้คือสิ่งที่ปรมจารย์อย่าง Junya Watanabe ทำมาหมดแล้ว
Moohong
Fall/Winter 2018
Moohong เป็นแบรนด์จากประเทศเกาหลีใต้ที่น่าจับตา และส่วนตัวเพิ่งมีโอกาสได้ชมผลงานฤดูร้อนประจำปี 2018 ไปเมื่อปลายปี 2017 ที่ผ่านมา การนำผลงานไปจัดแสดงใน Paris Fashion Week ฤดูกาลล่าสุดจึงถือว่าไม่เกินคาดที่นักออกแบบคนเก่งคนนี้จะได้นำผลงานไปแสดงในสัปดาห์แฟชั่นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก เพราะหากฝั่ง Menswear มี Juun.J ทางฟากฝั่ง Womenswear นั้นอยากให้จับตาดู Moohong จุดเด่นของดีไซเนอร์ชาวเกาหลีใต้คือ เรื่องของงานเทเลอร์ ความสามารถในการเนรมิตแจ็กเก็ตสวยๆได้ไม่เป็นสองรองใคร แถมพลิกแพลงงานแฟชั่นรูปแบบ Deconstruction ให้ดูโดดเด่น แตกต่าง และกลายเป็นชิ้นงานที่น่าจดจำ
Alexander McQueen
Fall/Winter 2018
หลายห้องเสื้อที่นำเสนอผลงานในสัปดาห์แฟชั่นของกรุงปารีส แสดงให้เห็นว่าสามารถสร้างความน่าสนใจได้โดยไม่ต้องตามกระแสโลก หากแต่เป็นเรื่องของงานฝีมือจากทีมช่างผู้สรรค์สร้างดีเทล การตัดเย็บที่ดูพิถีพิถันในทุกขั้นตอน ความใส่ใจในทุกฝีเข็ม ซึ่งตัวอย่างที่ว่านี้เห็นได้อย่างชัดเจนที่ห้องเสื้อ Alexander McQueen ภายใต้การนำของ Sarah Burton ที่ยังคงสร้างสรรค์คอลเล็กชั่นเสื้อผ้าสำเร็จรูปแต่เทียบเท่างานกูตูร์ออกมาต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 8 ลายพิมพ์ผีเสื้อแบบ Kaleidoscope ซึ่งเป็นซิกเนเจอร์มาตั้งแต่ยุค Lee McQueen ดูโดดเด่นไม่แพ้งานปักรูปแมลงสุดวิจิตร Bustier หนัง และแจ็กเก็ตโอเวอร์ไซส์ที่อิงกระแสโลกให้พอเป็นพิธี
Givenchy
Fall/Winter 2018
3 สิ่งที่ชื่นชมในผลงานฤดูกาลล่าสุดของ Givenchy คือ 1. ในส่วนของ Fur Collection จากแบรนด์หรูที่ทำงานขนสัตว์ออกมาสวยไร้ที่ติ ตอนนี้ก็ถึงเวลาของการใช้ 'ขนสัตว์เทียม' เพื่อขานรับกับกระแสโลก ในส่วนที่ 2 คือ งานหนัง ถึงแม้ว่าใช้ขนสัตว์เทียม แต่ยังมีการสร้างชิ้นงานจากหนังแท้ ซึ่งทำได้ดีตลอดมาไม่ว่าจะเป็นยุคของนักออกแบบคนใดก็ตาม และ 3. งานเทเลอริ่งทั้งฝั่งหญิงและชายที่ยังคงมาตรฐานของห้องเสื้อเอาไว้ได้ โค้ทที่ดัดแปลงมาจาก Poncho/Cape ชิ้นขึ้นชื่อในยุค 60s เสื้อเชิ้ตที่ดัดแปลงมาจาก Biker Jacket การจับคู่สีที่ดู "โบราณ(ขอใช้คำนี้)" จริง ซึ่งถ้าทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ Givenchy ต้องการจับ 'สายวินเทจ' นั่นก็คงมาถูกทาง
Balenciaga
Fall/Winter 2018
ไม่ใช่แค่ Burberry เท่านั้นที่พูดถึงเรื่องของความหลากหลายทางเพศ แต่ Balenciaga ก็หยิบยกมาเป็นประเด็นโดยสร้างเป็นลายเด่น 'ธงสีรุ้ง' พร้อมทั้งการร่วมมือกับ World Food Programme กลายเป็นโลโก้ใหม่บนชิ้นงานในฤดูกาลล่าสุด หลังวางแนวคิด Anti-Fashion เอาไว้ที่ Balenciaga มา 2 ปี คอลเล็กชั่นนี้ได้ทำให้เห็นว่า Demna Gvasalia เริ่มสุขุมขึ้น สนุกแบบที่ยังไม่หลุดจากกรอบห้องเสื้อระดับกูตูร์เฮาส์ ชิ้นมาสเตอร์พีซของ Balenciaga ในยุค Gvasalia อย่างแจ็กเก็ตรูปทรงนาฬิกาทรายมาพร้อมการผลิตด้วยวิธีการใหม่ โดยการใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติและการขึ้นโมล ทั้งหมดคือการโชว์เทคโนโลยีสำหรับโลกแฟชั่นในทศวรรษหน้าอย่างแท้จริง
Junya Watanabe
Fall/Winter 2018
Moohong
Fall/Winter 2018
Moohong เป็นแบรนด์จากประเทศเกาหลีใต้ที่น่าจับตา และส่วนตัวเพิ่งมีโอกาสได้ชมผลงานฤดูร้อนประจำปี 2018 ไปเมื่อปลายปี 2017 ที่ผ่านมา การนำผลงานไปจัดแสดงใน Paris Fashion Week ฤดูกาลล่าสุดจึงถือว่าไม่เกินคาดที่นักออกแบบคนเก่งคนนี้จะได้นำผลงานไปแสดงในสัปดาห์แฟชั่นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก เพราะหากฝั่ง Menswear มี Juun.J ทางฟากฝั่ง Womenswear นั้นอยากให้จับตาดู Moohong จุดเด่นของดีไซเนอร์ชาวเกาหลีใต้คือ เรื่องของงานเทเลอร์ ความสามารถในการเนรมิตแจ็กเก็ตสวยๆได้ไม่เป็นสองรองใคร แถมพลิกแพลงงานแฟชั่นรูปแบบ Deconstruction ให้ดูโดดเด่น แตกต่าง และกลายเป็นชิ้นงานที่น่าจดจำ
Alexander McQueen
Fall/Winter 2018
หลายห้องเสื้อที่นำเสนอผลงานในสัปดาห์แฟชั่นของกรุงปารีส แสดงให้เห็นว่าสามารถสร้างความน่าสนใจได้โดยไม่ต้องตามกระแสโลก หากแต่เป็นเรื่องของงานฝีมือจากทีมช่างผู้สรรค์สร้างดีเทล การตัดเย็บที่ดูพิถีพิถันในทุกขั้นตอน ความใส่ใจในทุกฝีเข็ม ซึ่งตัวอย่างที่ว่านี้เห็นได้อย่างชัดเจนที่ห้องเสื้อ Alexander McQueen ภายใต้การนำของ Sarah Burton ที่ยังคงสร้างสรรค์คอลเล็กชั่นเสื้อผ้าสำเร็จรูปแต่เทียบเท่างานกูตูร์ออกมาต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 8 ลายพิมพ์ผีเสื้อแบบ Kaleidoscope ซึ่งเป็นซิกเนเจอร์มาตั้งแต่ยุค Lee McQueen ดูโดดเด่นไม่แพ้งานปักรูปแมลงสุดวิจิตร Bustier หนัง และแจ็กเก็ตโอเวอร์ไซส์ที่อิงกระแสโลกให้พอเป็นพิธี
Givenchy
Fall/Winter 2018
3 สิ่งที่ชื่นชมในผลงานฤดูกาลล่าสุดของ Givenchy คือ 1. ในส่วนของ Fur Collection จากแบรนด์หรูที่ทำงานขนสัตว์ออกมาสวยไร้ที่ติ ตอนนี้ก็ถึงเวลาของการใช้ 'ขนสัตว์เทียม' เพื่อขานรับกับกระแสโลก ในส่วนที่ 2 คือ งานหนัง ถึงแม้ว่าใช้ขนสัตว์เทียม แต่ยังมีการสร้างชิ้นงานจากหนังแท้ ซึ่งทำได้ดีตลอดมาไม่ว่าจะเป็นยุคของนักออกแบบคนใดก็ตาม และ 3. งานเทเลอริ่งทั้งฝั่งหญิงและชายที่ยังคงมาตรฐานของห้องเสื้อเอาไว้ได้ โค้ทที่ดัดแปลงมาจาก Poncho/Cape ชิ้นขึ้นชื่อในยุค 60s เสื้อเชิ้ตที่ดัดแปลงมาจาก Biker Jacket การจับคู่สีที่ดู "โบราณ(ขอใช้คำนี้)" จริง ซึ่งถ้าทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ Givenchy ต้องการจับ 'สายวินเทจ' นั่นก็คงมาถูกทาง
Ann Demeulemeester
เช่นเดียวกับ Anthony Vaccarello ที่ Saint Laurent คือยิ่งนับวันผลงานของ Sebastien Meunier ยิ่งน่าสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ขอชื่นชมที่สุดคือการยังคงรักษาไ้ว้ซึ่งกลิ่นอายของ Demeulemeester ยังคงหอมอบอวลทั้งทั้งคอลเล็กชั่น ในขณะเดียวกันก็ชวนพิศมัยด้วยดีเทลจัดจ้าน ซึ่งถ้าหากวัดกันชิ้นงานต่อชิ้นงานแล้วอาจใช้สารพัดเทคนิคมากกว่าในยุคของ Ann ด้วยซ้ำ แม้ภาพรวมยังคงดาร์ก ดุดัน เหมาะกับคอแฟชั่นที่ชื่นชอบกลิ่นอาย Gothic-Inspired แต่คอลเล็กชั่น Edwardian-Gothic คราวนี้โรแมนติก และเซ็กซี่ขึ้นด้วยการบาลานซ์วัสดุระหว่างผืนหนังและเนื้อผ้าบางเบา ทั้งเผยเนื้อหนัง และเน้นทรวดทรงของอิสตรีเพศ ชวนให้หลงไหล
Nina Ricci
Fall/Winter 2018
ต้องขอชื่นชมผลงานของ Guillaume Henry สำหรับห้องเสื้อชั้นสูงระดับตำนาน Nina Ricci ที่ดูเข้าที่เข้าทางขึ้นเรื่อยๆ จุดเด่นของ Guillaume ในเรื่องของการนำเสนอฟอร์มใหม่ๆ การจับคู่สี และการใช้วัสดุต่างชนิดหลากผิวสัมผัสให้ออกมาลงตัวดูไม่ประหลาด เห็นได้ชัดเจนในผลงานคอลเล็กชั่นนี้เต็มๆ ทั้งการสร้างรอยยับย่นบนผืนผ้า ความมันวาวของผืนหนัง การประดับประดาชิ้นงานด้วยขนนก เลื่อมและฮาร์ดแวร์โลหะรูปโลโก้ ทั้งหมดคือการบาลานซ์ระหว่างความดรามาติกแบบ Theyskens และความหวานแบบ Copping ทั้งยังแสดงถึงความพยายามที่จะทำให้ Nina Ricci กลับมาหรูหรา ยิ่งใหญ่สมศักดิ์ศรี(อดีต)กูตูร์เฮาส์ที่เลื่องชื่อที่สุดหลังหนึ่ง
Lacoste
Fall/Winter 2018
กำลังอยู่ในช่วงฉลอง 85 ปีของหนึ่งในแบรนด์ไอคอนิกแห่งประเทศฝรั่งเศสอย่าง Lacoste แต่เมื่อพูดถึง Lacoste ชิ้นรันเวย์เวอร์ชั่นฝรั่งเศสที่ขึ้นป้าย Made in France ฝีมือการรังสรรค์โดยกูตูริเยร์คนเก่ง Felipe Oliveira Baptista ขอให้ลืมภาพชิ้นเบสิกแสนธรรมดาไปได้เลย เพราะตลอดระยะเวลา 7 ปีที่ FOB เป็นผู้นำทัพแบรนด์โลโก้จระเข้แบรนด์นี้ ทุกชิ้นที่ปรากฏบนรันเวย์ล้วนใช้วัสดุชั้นเลิศ คู่กับการตัดเย็บชั้นยอดเทียบเท่าแบรนด์ระดับกูตูร์เฮาส์ เราจึงได้เห็นทั้ง โครงเสื้อสวยๆ (เช่น Fall 2013) การดัดแปลงชิ้น Iconic อย่างเสื้อ Polo ให้กลายเป็นเดรสตัวสวย (ใน Spring 2018) และกลิ่นอาย Retro-Sporty อย่างในคอลเล็กชั่นล่าสุดนี้
Nina Ricci
Fall/Winter 2018
Lacoste
Fall/Winter 2018
Maison Margiela
Paris Fashion Week จะขาดสีสันทันทีถ้าไม่มีนักออกแบบที่นำเสนอผลงานสุดดรามาติก ชิ้นงาน avant-garde และสไตล์ลิ่งเกินจริง เพราะนี่คือเมืองแฟชั่นที่งานศิลปะและการตลาดสามารถเดินคู่กันไปเพียงแต่ต้องบาลานซ์ให้ลงตัว นั่นคือที่เกิดขึ้นกับ Maison Margiela ในฤดูกาลนี้ซึ่งกูตูริเยร์ John Galliano แสดงให้เห็นแล้วออกมาเป็นเช่นไร
No comments:
Post a Comment