September 08, 2019

สนธิสัญญาแฟชั่น 'Fashion Pact'

ถ้าให้พูดกันตามความเป็นจริง ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมแฟชั่นนี่แหละคือหนึ่งในตัวการสำคัญที่สายการผลิตส่งผลต่อสภาพแวดล้อมโลกสุดๆ ทั้งเรื่องของมลภาวะ ขยะที่เหลือจำนวนมาก ซึ่งยังไม่ต้องไปรวมถึงเรื่องของการที่ถูกมองว่าทารุณกรรมสัตว์เนื่องจากมีการนำขนสัตว์มาใช้ผลิตเครื่องนุ่งห่ม ทั้งๆที่ในปัจจุบันสามารถผลิตวัสดุทดแทนได้ ดังนั้นหนึ่งในข่าวใหญ่ที่ทั่วโลกให้ความสำคัญในช่วงเวลานี้คือการที่ 32 บริษัทแฟชั่นและสิ่งทอ ลงนามสนธิสัญญาอนุรักษ์สภาพแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ และมหาสมุทร ในการประชุม 'G7' ณ เมืองบิอาร์ริตซ์ ระหว่างวันที่ 24 - 26 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยงานนี้ 'แอมานุแอล มาครง' ประธานาธิปดีประเทศฝรั่งเศสเชิญตัวแทนผู้ริเริ่มสนธิสัญญาแฟชั่นจาก 32 บริษัทแฟชั่นและสิ่งทอมาเข้าพบ ณ ปาเลเดอเลลีเซ

วัตถุประสงค์ของสนธิสัญญาแฟชั่น มีแนวคิดจาก Science-Based Targets (SBT1) โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของโลกทั้ง 3 ด้าน คือ 'หยุดสภาวะโลกร้อน' โดยการสร้างและปรับใช้แผนปฏิบัติการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การลดสภาวะเรือนกระจกให้เป็น 0 ภายในปีค.ศ. 2050 เพื่อให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกต่ำกว่า 1.5 องศาเซลเซียส เริ่มต้นตั้งแต่ตอนนี้ไปจนถึงปีค.ศ. 2100 ฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ การเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศทางธรรมชาติและอนุรักษ์ความหลากลายทางด้านสายพันธ์ุ และ พิทักษ์มหาสมุทร ด้วยการลดผลกระทบด้านลบจากอุตสาหกรรมแฟชั่นที่มีผลกระทบต่อมหาสมุทรของโลกผ่านความคิดริ่เริ่มในเชิงปฏิบัติเช่น การลดจนถึงการยกเลิกการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว


พันธมิตรส่วนหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี มีทั้ง ADIDAS, Burberry, CAPRI HOLDINGS LIMITED, CHANEL, Ermenegildo Zegna, GALERIES LAFAYETTE, GAP Inc., Armani, H&M GROUP, Hermès, INDITEX, Karl Lagerfeld, Kering, MATCHESFASHION.COM, MONCLER, NIKE, PUMA, PVH Corp. เป็นต้น

No comments:

Post a Comment

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...