July 15, 2010

Men's Fashion, inspired by J-T-K Pop Culture Part 5/5

ในส่วนของ part สุดท้ายกับแฟชั่นชายจากกระแส Asian Pop นี้คงตัดในส่วนของ T-Pop ออกไป(อ้าว! มัยงั้น?) เพราะอย่างที่เขียนบอกใน part2 ว่ากระแสใต้หวันที่มีในช่วงต้นทศวรรษนี้ สร้างความคลั่งใคล้ในตัวศิลปินมากกว่าในส่วนของแฟชั่นการแต่งกายที่ street style ไม่ได้ต่างไปจากวัยรุ่นไทยนัก ไม่เหมือนกระแสจาก J และ K Pop ที่เห็นได้ชัดกว่าฮ่ะ

U-KISS

แฟชั่นศิลปินดาราของสองชาติยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมแฟชั่นเอเชียอย่างเกาหลีและญี่ปุ่นเหมือนกันในส่วนของ ''คอนเส็ป'' ที่วางไว้ แต่ในส่วนที่ต่างกันคือแฟชั่นจากศิลปินญี่ปุ่นในช่วงแรกที่เข้ามาระบาดในไทยที่ดูไปแล้วน่าจะตามได้คือสไตล์ของทรงผม การทำสี และการใช้ accessories เพื่อเป็นส่วนเติมเต็ม เพราะคอสตูมที่เราเห็นบอยแบนด์จากแดนอาทิตย์อุทัยใส่ร้องเต้นกันในจอนั้น ทำขึ้นเพื่อคอนเส็ปเฉพาะกลุ่มศิลปิน ดูพอดีเมื่ออยู่บนจอแต่พอออกมาในชีวิตจริงแล้วอาจจะดูมากไปฮ่ะ

Lucifer หนึ่งในกลุ่มศิลปิน rock(hard/pop) จากช่วงปลาย 90's

และอาจจะด้วยเพราะการแต่งกายโดยเลเยอร์ลิ่งหลายชิ้น ใส่เสื้อหลายชั้นกับแฟชั่นสีฉูดฉาดหรือวัสดุอย่าง PVC สีเมลทาลิคต้อนรับปีมิลลิเนี่ยมในตอนนั้นดูเป็นแฟชั่นที่ล้ำเกินไปสำหรับวัยรุ่นไทยที่จะเอาอย่างแต่ทางญี่ปุ่นเรื่องแฟชั่นอย่างนี้กับที่เห็นได้ตามท้องถนนคนที่แต่งมากกว่านี้ก็มีนี่จึงเป็นส่วนหนึ่งให้วัยรุ่นไทยเริ่มประยุคใช้โดยการซื้อนิตยสาร "Street Fashion" ของญี่ปุ่นมาดู เพื่อให้รู้ถึงความเคลื่อนไหวในแวดวงแฟชั่นที่ขณะนั้นญี่ปุ่นคือ No.1 ในเรื่องแฟชั่นของเอเชียฮ่ะ

Harajuku Today, Japanese Street Fashion (2000)

ความหลากหลายของแฟชั่นศิลปินญี่ปุ่น และวัยรุ่นกับสตรีทสไตล์ที่เห็นได้ตามนิตยสาร ส่งผลให้เกิดกระแสของคำว่า "Street Fashion" ในไทย(นั่นคือทำไม Puma ถึงเลือก Mihara) และตามมาด้วยกระแสผู้ชายหันมาแต่งกายและสนุกกับแฟชั่นมากขึ้น "สยาม" ถูกเปรียบเป็น "ฮาราจูกุ" เมืองไทยในในตอนนั้นและเช่นกันกับที่เกิดนิตยสารแฟชั่นในแนวสตรีทของไทยรวมไปถึงร้านเสื้อผ้าที่สไตล์หลุดมาจาก Japanese Street ทั้งหลายฮ่ะ

กระแสถ่ายรูปสติกเกอร์ / สตรีท แฟชั่นไทยในนิตยสารวัยรุ่นปี 2000

แต่ด้วยเพราะความสุดโต่งมากไปและในช่วงต้นทศวรรษนี้กระแสใต้หวันมีเข้ามา การกลับไปหาสไตล์ที่จับต้องและใส่ได้จริงในเมืองไทยที่อย่างไรก็ต้องแคร์สภาพอากาศ(และสายตา)จึงเป็นเหมือนการมาเบรคกระแสแฟชั่นญี่ปุ่นด้วยสปอร์ตแวร์ที่ใส่ง่ายดูสบายและเหมาะกับเมืองเรา รวมถึงละแวกเพื่อนบ้านมากกว่า จนกระแสเกาหลีเข้ามาที่แฟชั่นดารากับสตรีทสไตล์จึงกลายเป็นกระแสขึ้นอีกระลอกฮ่ะ


ในส่วนของศิลปินเกาหลีที่ต่างไปจากศิลปินญี่ปุ่นคือคอสตูมที่ใช้ส่วนใหญ่ไม่ได้ทำขึ้นเฉพาะ แต่เป็นเสื้อผ้าหรือไอเท็มที่หาได้จากแบรนด์ดังต่างๆทั้งจาก korean brands หรือ luxury brands ใหม่ๆ(นั่นทำไมทั้ง LVMH,PPR และ Prada ถึงรักเกาหลี) โดยมีสไตล์ในการจับคู่เสื้อผ้ากับไอเท็มออกมาดูเป็นแฟชั่นจ๋าแต่ว่าไม่มากไปจนใครที่ชอบไม่สามารถหยิบนำมาปรับใช้หรือซื้อหามาใส่ได้ฮ่ะ

Rain กับ Louis Vuitton ทั้งนอกและในจอ

Super Junior กับสารพัด Luxury Brands ใน music video

MVIO S/S 2010 หนึ่งใน korean brands สำหรับ MV ของ SS501

และด้วยเพราะสไตล์ที่จับต้องได้บวกกับแฟชั่นชายทุกวันนี้ในไทยก็ไปไกลกว่าเมื่อสิบกว่าปีก่อนการชื่นชอบในตัวศิลปินเกาหลี และได้เป็นในอย่างที่ Idol ในดวงใจเป็นอย่างน้อยก็ในเรื่องของแฟชั่น ทำให้ยิ่งนับวันกระแสของ K-Pop ยิ่งแรงขึ้นไปอีก การแต่งกายด้วยเสื้อผ้าหลายชิ้นที่ไม่ใช่แค่เสื้อยืดบวกยีนส์แล้วจบพบได้ทั่วไปในทุกวันนี้ แต่อยากบอกว่าที่วัยรุ่นไทยมีดีกว่าคือในเรื่องของความหลากหลายของสไตล์ (ทุกสื่อสตรีทแฟชั่นเค้าคัดลงแต่ที่เด็ดๆ) ที่บอกได้ว่าไม่แพ้เหล่าแฟชั่นนิสต้าอื่นๆ(จริงๆ)ฮ่ะ

Cheeze Magazine กับกระแส Street fashion ไทย

กระแสเหล่านี้ยังคงมีอยู่หรือไม่ในทศวรรษหน้าหรือกระแสของชาติใดจะมาก็ไม่สามารถบอกได้ แต่เมื่อหลายปีก่อนตอนคุณแม่ยังสาววงการภาพยนต์อินเดียหรือ 'Bollywood' ฮิตมากในไทยแล้วก็หายไปตามการเวลา จากนั้นมาเกาหลีประเทศที่ไม่มีความนิยมในเรื่องของอุตสาหกรรมบันเทิงในไทยหากย้อนกลับไป 20ปีก่อนแต่ตอนนี้ตีตลาดได้ทั้งเอเชีย หรือจะเป็นกระแส Thai Pop Mania ที่เริ่มเห็นได้จากประเทศเพื่อนบ้านในตอนนี้ ก็คงต้องลุ้นกันอีกทีในทศวรรษหน้าฮ่ะ ...

No comments:

Post a Comment

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...