ความอยากรู้ในเรื่องของความเป็นไปในยุค 90s ช่วงเวลาที่เด็กยุคหลังไม่มีโอกาสได้สัมผัส ยังคงถูกนำไปตั้งเป็นคำถามอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดคือบนกระทู้บนบอร์ดดังเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งใครที่มีโควต้าการอ่านหนังสือเกิน 7 บรรทัด แล้วลองอ่านการแลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งหมดก็คงจะเข้าใจได้ว่าทำไมไนน์ตี้ถึงกลับมาเป็นกระแส
เมื่อเร็วๆนี้มีเว็บไซต์สตรีทแฟชั่นชื่อดังหลายเจ้า tribute ให้กับ 'Calvin Klein' ยุคภายใต้การดูแลภาพรวมโดย Raf Simons ตลอดช่วง 2 ปีกว่าที่ผ่านมา ซึ่ง 'ราฟ ซิมงส์' คือนักออกแบบที่เข้าใจในวัฒนธรรมสมัยนิยม (Pop-Culture) และวัฒนธรรมเยาวชนในยุค 90s ได้ดีที่สุดคนหนึ่ง ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราได้เห็นการนำโลโก้โมโนแกรมอักษรย่อตัว 'cK' เวอร์ชั่นต้นฉบับที่เคยฮอตฮิตในยุค 90s กลับมาใช้ ซึ่งหลายๆคนอาจจะลืมไปแล้วว่าโลโก้ 'cK' แบบเก่านั้นถูกแทนที่ด้วยโลโก้ฟอนต์ใหม่มานานหลายปี (อย่างบนขวดน้ำหอม cK One ก็ไม่ต่ำกว่า 14 ปี) ดังนั้นการนำโลโก้เก่ากลับมาใช้นอกจากได้ใจคน Gen-Y (เช่นตัวเอง) แล้ว ยังเป็นการเปิดประสบการณ์ให้เด็กรุ่นใหม่ได้สัมผัสกันอีกด้วย
ช่วงนี้กำลังมีความสุขกับการกลับไปขุดของเก่าๆในยุคนั้นมาใช้เช่นนาฬิกา CK 'Swiss Made' เรือนเก่าที่ผลิตช่วงปลายยุค 90s ซึ่งอยากบอกว่าจริงๆแล้ว แฟชั่นในยุคนั้นมีรายละเอียดปลีกย่อยเยอะแยะมากมาย ถ้าหากจะเขียนให้หมดคงเหนื่อยมากๆ ตัวอย่างง่ายๆเช่นขนาดหน้าปัดนาฬิกาผู้ชายในยุคนั้นไม่ได้ใส่นาฬิกาขนาดใหญ่เช่นในปัจจุบัน ขนาดหน้าปัดนาฬิกาผู้ชายที่ได้รับความนิยมและใส่กันเป็นปกติอยู่ที่ประมาณ 33mm - 42mm จะหาคนที่ใส่ใหญ่กว่านี้คือน้อยมากเพราะไม่ใช่กระแสนิยม ที่ตัวเองเป็นคนรักนาฬิกาสายไนลอน หรือเรียกกันติดปากว่า "สาย Nato" เพราะจากแฟชั่นในยุค 90s นั่นเอง
No comments:
Post a Comment